ประเภทของโพล

ประเภทของโพล

Benchmark Survey เมื่อผู้สมัครได้ตัดสินใจที่จะสมัครแล้ว การทำโพลแบบนี้ ต้องการเพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาพลักษณ์ทั่ว ๆ ไปของ ผู้สมัคร ลักษณะทางประชากรของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง คะแนน เสียงเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ความเห็นของประชากรต่อผลงานของผู้ ที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับประเมินความ ก้าวหน้าของการรณรงค์หาเสียง

Tracking Polls เป็นการจัดทำโพลชนิดวันต่อวันเมื่อใกล้ๆ วันเลือกตั้ง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และปรับกลยุทธ์ในการหาเสียง เช่นเลือกตัวอย่างมาวันละ 100 คน ติดต่อกัน 4 วัน ถึงแม้จำนวน จะน้อยแต่ก็ยังดีกว่าเลือกตัวอย่างมา 400 คนในวันเดียวกัน และใน วันที่ 5 อาจจัดทำโพลอีก 100 คนโดย 100 คนแรกที่จัดเก็บมาในวัน แรกก็จะถูกตัดออกไป ทำให้สามารถติดตามปฏิกริยาของผู้ลงคะแนน เสียงได้อย่างใกล้ชิด ได้ข้อมูลข่าวสารที่ทันกับเวลา

Trial Heat Survey ในทางเทคนิค THS ไม่ใช่การสำรวจในตัวของมันเอง แต่เป็นชุดของคำถามในการทำโพล เช่น คำถาม “จะเลือกใครในบรรดา ผู้สมัคร” หรือ “ท่านจะลงคะแนนเสียงให้ใคร”

Cross-sectional เป็นโพลที่ทำ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง อาจจะมีการทำ หลายครั้ง แต่ละครั้งก็จะเป็น CS เพราะตัวอย่างแตกต่างกันไป ทำให้ เห็นภาพว่าผู้สมัครอยู่ตรงไหนเมื่อเวลานั้นๆ

Panel Surveys เป็นการทำโพล ที่บุคคลคนเดียวถูกสัมภาษณ์ 2 ครั้งขึ้นไป ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการ เคลื่อนไหวของการรณรงค์หาเสียงและการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียง

Focus Groups ในทางเทคนิคแล้วไม่ใช่โพลในตัวมันเองแต่เป็น การสัมภาษณ์เจาะลึกประชาชนจำนวนหนึ่งประมาณ 10-20 คน ที่ถูกเลือกมาเป็นตัวแทน คนกลุ่มนี้อาจเป็นผู้ที่ฟังการปราศรัยหาเสียง ของ ผู้สมัคร หรือดูการโต้วาทีทางการเมือง (debate) ระหว่างผู้สมัคร แล้วให้แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ FG ยังเป็นประโยชน์ในการ พัฒนาคำถามที่จะใช้ในการทำโพลครั้งต่อไป

Deliberative Opinion Polls เป็นการรวมองค์ประกอบของ Focus Groups และการสำรวจหรือ โพลทั่ว ๆ ไป โดยการเอาตัวแทนของประชาชนมารวมกัน แล้วให้ข้อ มูลข่าวสาร และเปิดโอกาสในการอภิปรายประเด็นปัญหา แล้วสำรวจ ความคิดเห็นในประเด็นปัญหานี้

Pseudo-polls or Junk polls จะเป็นโพลประเภทมีปัญหาในเรื่อง ความไม่เป็นตัวแทนของผู้ตอบ เช่น การที่โทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ขอให้ผู้อ่านตอบแบบสอบถามหรือผู้ฟังโทรศัพท์เข้าไปเพื่อแสดงความ คิดเห็น การทำโพลแบบนี้ไม่ว่าจำนวนผู้ตอบจะตอบมากน้อยเพียงใด ก็ตาม ก็มีปัญหาในเรื่องความเป็นตัวแทน (representativeness) ของ ประชากรทั่วไป

Straw Poll ตามความหมายเดิมหมายถึง การสำรวจความเห็นขนาดเล็กอย่างไม่เป็นทางการ แต่ปัจจุบันหมายถึงการสำรวจความเห็นทั่วไปที่ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ โดยมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ

Push Poll เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้รณรงค์ทางการเมือง เพื่อสร้างอิทธิพลหรือเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนโดยใช้วิธีการของโพล วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การทำให้กลุ่มผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนนึกถึงเรื่องนั้น ๆ ได้ หรือการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จหรือจริงบางส่วน  (Half truth) ในเรื่องนั้น การพิจารณาแยกแยะว่าอะไรคือ Push Poll หรือ Genuine Poll/Legitimate Poll ให้ดูที่ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size) โพลของจริงหรือโพลที่ทำอย่างถูกต้อง กลุ่มตัวอย่างจะไม่มาก แต่ถือเป็นตัวแทนของกลุ่มได้จริง ขณะที่ Push Poll ขนาดกลุ่มตัวอย่างจะใหญ่มาก เพราะหวังผลในวงกว้าง

Call-in Poll คือ โพลที่จัดทำอย่างไม่เป็นทางการ (Straw Poll) ประเภทหนึ่งที่ใช้วิธีการสำรวจความเห็นผ่านทางรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ โดยผู้ดำเนินรายการจะเชิญชวนให้ประชาชนโทรศัพท์เข้ามายังรายการเพื่อแสดงความเห็นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ แล้วบันทึกความเห็นของประชาชนไว้ให้ได้ตามจำนวนที่กำหนด

Canned Poll เป็นการสำรวจความเห็นด้วยการใช้ชุดคำถามมาตรฐานเดิม ๆ ที่ได้จัดทำไว้ล่วงหน้าและเคยใช้สำรวจมาก่อนแล้ว โดยไม่คำนึงถึงตัวเหตุการณ์จริงที่ต้องการสำรวจ โพลที่ใช้ชุดคำถามเดิม (Canned Poll) มีชื่อเรียกอย่างอื่นด้วย เช่น โพลที่ใช้คำถามตัดปะ (Cut-and-paste Polls) และโพลที่ใช้คำถามสำเร็จรูป (Off-the-rack Poll)

In-house Poll หมายถึง การสำรวจที่องค์กรภาครัฐ องค์กรธุรกิจ องค์กรไม่หวังผลกำไร หรือองค์กรประเภทอื่น ๆ ดำเนินการเอง มิได้สัญญาว่าจ้างบริษัทภายนอกให้ดำเนินการ แต่จะใช้บุคลากรและทรัพยากรขององค์กรดำเนินการวิจัยเอง ผู้ตอบคำถามอาจเป็นลูกจ้าง พนักงาน ลูกค้า นักศึกษา ผู้ออกกฎหมาย หรือประชาชนทั่วไป

Exit Poll คือ โพลที่สำรวจบริเวณคูหาเลือกตั้ง เป็นการสำรวจที่กระทำทันทีเมื่อผู้ลงคะแนนเสียงออกจากคูหาเลือกตั้ง การทำเอคซิทโพลนั้นกลุ่มตัวอย่างของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะคัดเลือกจากเขตเลือกตั้งหลักอย่างระมัดระวัง ผู้สัมภาษณ์จะเข้าถึงตัวผู้ลงคะแนนเสียงโดยตรง ซึ่งจะต้องมีการเตรียมใบลงคะแนน (Ballot)

นอกจากนี้ WAPOR. 2006 ให้ความหมายของ Exit polls ว่า Exit polls เป็นการสำรวจการลงคะแนนเสียงโดยการสัมภาษณ์หลังจากที่มีการลงคะแนนแล้วอย่างรวดเร็วในวันเลือกตั้ง หรืออาจจะรวมกับการสัมภาษณ์ก่อนวันเลือกตั้งกับผู้ที่ไม่ได้มาหรือผู้ที่ลงคะแนนล่วงหน้า ในบางประเทศการสำรวจในวันเลือกตั้งไม่สามารถทำได้ ณ สถานที่เลือกตั้ง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะทำการสัมภาษณ์ที่หน่วยเลือกตั้ง

Pavia (2010) กล่าวว่า Exit poll เป็นที่รู้จักดีสำหรับการพยากรณ์ผลการเลือกตั้ง ถึงอย่างไรก็ดีในปัจจุบันในการทำ Exit poll จะมีการพยากรณ์ที่ผิดพลาดบ้าง ทำให้ความเชื่อของประชาชนลดน้อยลงต่อความถูกต้องระหว่างวิธีการสำรวจกับผลของ Exit poll ความลำเอียงจากการไม่ตอบคำถามเป็นคำอ้างหนึ่งของเหตุผลทั้งหมดของแผนงานที่ไม่ถูกต้อง สืบเนื่องมาจากประเด็นที่มีการควบคุม เพศ เชื้อชาติ อายุ การปรับตัวที่เป็นสากลและระดับขั้นตอน วิธีการทางเลือกที่เป็นเสนอและรายละเอียดในบทความนี้  มีกลยุทธ์ 2 ขั้นคือ เป็น ข้อเสนอการลดการไม่ตอบคำถาม และการพยากรณ์ที่ดีขึ้น